วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
InSufficient Disk space
InSufficient Disk space : ข้อความนี้จะเกิดขึ้นเมื่อดิสก์ไม่เพียงพอต่อการเก็บข้อมูล วิธีแก้ ลองใช้ดิสก์อื่นหรือลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ออก -------------------------------------------------------------------------------- ความจำเป็นในการใช้ (Dos) ยังคงมีอยู่ แม้ว่าในปัจจุบันบทบาทของมันจะเริ่มลดลงไปมากหลังจาก Windows เริ่มมีความสมบูรณ์และมีสิ่งอำนวยความสะดวกมาให้ชนิดที่ไม่ต้องพึ่งดอสเลย แต่ถ้าเมื่อไรเครื่องของคุณยังไม่มี Windows หรือเข้าไปใช้งาน Windows ไม่ได้ คำสั่งดอสก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการใช้คำสั่งดอสจะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้เช่นการ การซ่อมแซมไฟล์ที่เสีย ก๊อปxxxไฟล์ข้อมูล แก้ปัญหา Bad Sector ฯลฯ ดังนี้เราควรทราบคำสั่งบางคำสั่งที่จำเป็นไว้บ้างเพื่อนำไปใช้งานในยามฉุก เฉิน Dos ย่อมาจาก Disk Operating System เป็นระบบปฎิบัติการรุ่นแรก ๆ ซึ่งการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการทำงานบนระบบปฎิบัติการดอสเป็นหลัก โดยการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานโดยการใช้คำสั่งผ่านบรรทัดคำสั่ง (Command Line) ที่นิยมใช้กันคือ MS-Dos ซึ่งต่อมาระบบปฎิบัติการดอสจะถูกซ่อนอยู่ใน Windows ลองมาดูกันว่าคำสั่งไหนบ้างที่เราควรรู้จักวิธีใช้งาน CD คำสั่งเข้า-ออก ในไดเร็คทอรี่ CD (Change Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนไดเร็คทอรี่ในโหมดดอส เช่น ถ้าต้องการรัน คำสั่งเกมส์ที่เล่นในโหมดดอส ซึ่งอยู่ในไดเร็คทอรี MBK ก็ต้องเข้าไปในไดเร็คทอรีดังกล่าวเสี่ยก่อนจึงจะรันคำสั่งเปิดโปรแกรมเกมส์ ได้ รูปแบบคำสั่ง CD [drive :] [path] CD[..] เมื่อเข้าไปในไดเร็คทอรีใดก็ตาม แล้วต้องการออกจากไดเร็คทอรีนั้น ก็เพียงใช้คำสั่ง CD เท่านั้นแต่ถ้าเข้าไปในไดเร็คทอรีย่อยหลาย ๆ ไดเร็คทอรี ถ้าต้องการออกมาที่ไดรว์ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ให้ใช้คำสั่ง CD เพราะคำสั่ง CD.. จะเป็นการออกจากไดเร็คทอรีได้เพียงลำดับเดียวเท่านั้น ตัวอย่างการใช้คำสั่ง CD กลับไปที่ Root ระดับสูงสุด เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:>docsdata> หลังจากใช้คำสั่งนี้ก็จะย้อนกลับไปที่ C: > CD.. กลับไปหนึ่งไดเร็คทอรี เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:windowscommand> หลังจากนั้น ใช้คำสั่งนี้ก็จะก็จะย้อนกลับไปที่ C:windows> CHKDSK (CHECK DISK) คำสั่งตรวจเช็คพื้นที่ดิสก์ CHKDSK เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลของหน่วยความจำ และการใช้งานดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ การรายงานผลของคำสั่งนี้จะเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ไดเร็คทอรี และ FAT ของดิสก์ หรือไฟล์ เพื่อหาข้อมผิดพลาดของการเก็บบันทึก ถ้า CHKDSK พบว่ามี Lost Cluster จะยังไม่แก้ไขใด ๆ นอกจากจะใช้สวิตซ์ /f กำหนดให้ทำการเปลี่ยน Lost Cluster ให้เป็นไฟล์ที่มีชื่อไฟล์เป็น FILE0000.CHK ถ้าพบมากว่า 1 ไฟล์ อันต่อไปจะเป็น FILE0002.CHK ไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังสามารถรายงานปัญหาที่ตรวจพบได้อีก อย่างเช่น จำนวน Bad Sector , Cross-ling Cluster (หมายถึง Cluster ที่มีไฟล์มากกว่าหนึ่งไฟล์แสดงความเป็นเจ้าของ แต่ข้อมูลใน Cluster จะเป็นของไฟล์ได้เพียงไฟล์เดียวเท่านั้น) รูปแบบคำสั่ง CHKDSK [drive:][[path]filename] [/F] [/V] [drive:][path] กำหนดไดรว์ และไดเร็ทอรีที่ต้องการตรวบสอบ filename ชื่อไฟล์ที่ต้องการให้ตรวจสอบ /F สั่งให้ Fixes Errors ทันทีที่ตรวจพบ /V ขณะที่กำลังตรวจสอบ ให้แสดงชื่อไฟล์และตำแหน่งของดิสก์บนหน้าจอด้วย ตัวอย่างการใช้คำสั่ง C:WINDOWS>CHKDSK D: ตรวจสอบข้อมูลการใช้งานดิสก์ในไดรว์ D C:>CHKDSK C: /F ตรวจสอบ ไดรว์ C พร้อมกับซ่อมแซมถ้าตรวจเจอปัญหา COPY คำสั่งคัดลอกไฟล์ Copy เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ จากไดเร็คทอรีหนึ่งไปยังไดเร็คทอรีที่ต้องการ คำสั่งนี้มีประโยชน์มากควรหัดใช้ให้เป็น เพราะสามารถคัดลอกไฟล์ได้ยามที่ Windows มีปัญหา รูปแบบคำสั่ง COPY [Source] [Destination] ตัวอย่างการใช้คำสั่ง C:COPY A:README.TXT คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ A ไปยังไดรว์ C C:COPY README.TXT A: คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ C ไปยังไดรว์ A C:INFOCOPY A:*.* คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C A:COPY *.* C:INFO คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C DIR คำสั่งแสดงไฟล์และไดเร็คทอรีย่อย เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายชื่อไฟล์และไดเร็คทอรี คำสั่งนี้ถือเป็นคำสั่งพื้นฐานที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำ เพื่อจะได้รู้ว่าในไดรว์หรือไดเร็คทอรีนั้น ๆ มีไฟล์หรือไดเร็คทอรีอะไรอยู่บ้าง รูปแบบคำสั่ง DIR /P /W /P แสดงผลทีละหน้า /W แสดงในแนวนอนของจอภาพ ตัวอย่างการใช้คำสั่ง C:>DIR ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C C:>DIR /W ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C ในแนวนอน C:>INFODIR /P ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีย่อยในไดเร็คทอรี INFO โดยแสดงทีละหน้า C:>INFODIR *.TEX ให้แสดงรายชื่อไฟล์ทั้งหมดในไดเร็คทอรี INFO เฉพาะที่มีนามสกุล TXT เท่านั้น C:> DIR BO?.DOC ให้แสดงรายชื่อไฟล์ในไดรว์ C ที่ขึ้นต้นด้วย BO และมีนามสกุล DOC ในตำแหน่ง ? จะเป็นอะไรก็ได้ DEL (DELETE) คำสั่งลบไฟล์ เป็นคำสั่งที่ใช้ในการลบไฟล์ ซึ่งต้องระมัดระวังในการใช้คำสั่งนี้ให้มาก รูปแบบคำสั่ง DEL [ชื่อไฟล์ที่ต้องการลบ] ตัวอย่างการใช้คำสั่ง C:>DEL BOS.VSD ลบไฟล์ในไดรว์ C ที่ชื่อ BOS.VSD C:>PROJECTDEL JOB.XLS ลบไฟล์ชื่อ JOB.XLS ที่อยู่ในไดเร็คทอรี PROJEC ของไดรว์ C D:>DEL *.TXT ลบทุกไฟล์ที่มีนามสกุล TXT ในไดรว์ D FDISK ( Fixed Disk) เป็นไฟล์โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการกับพาร์ติชั่นของฮาร์ดิสก์ ใช้ในการสร้าง ลบ กำหนดไดรว์ ที่ทำหน้าที่บูตเครื่อง แสดงรายละเอียดของพาร์ติชันบนฮาร์ดิสก์ จะเห็นว่าเป็นโปรแกรมอีกตัว หนึ่งที่ต้องทำความรู้จักและศึกษาวิธีใช้งาน เพราะสามารถใช้ประโยชน์ในการสร้าง ฮาร์ดดิสก์ให้มีหลาย ๆ ไดรว์ก็ได้ รูปแบบคำสั่ง FDISK /STATUS ตัวอย่างการใช้งานโปรแกรม A:>FDISK เริ่มใช้งานโปรแกรม A:>FDISK /STATUS แสดงข้อมุลเกี่ยวกับพาร์ติชันบนฮาร์ดดิสก์ FORMAT คำสั่งฟอร์แมตเครื่อง เป็นคำสั่งใช้จัดรูปแบบของดิสก์ใหม่ คำสั่งนี้ปกติจะใช้หลังการแบ่งพาร์ชันด้วยคำสั่ง FDISK เพื่อให้สามารถใช้งานฮาร์ดดดดิสก์ได้ หรือฝช้ล้างข้อมูลกรณีต้องการเคลียร์ข้อมูลทั้งหมดในฮา ร์ดิสก์ รูปแบบคำสั่ง FORMAT drive: [/switches] /Q ให้ฟอร์แมตแบบเร็ว ซึ่งจะใช้เวลาน้อยลง (Quick Format) /S หลังฟอร์แมตแล้วให้คัดลอกไฟล์ระบบลงไปในไดรว์นั้นด้วย เพื่อให้ไดรว์ที่ทำการฟอร์แมตสามารถบูตได้ ตัวอย่างการใช้คำสั่ง A:>FORMAT C: /S ฟอร์แมตไดรว์ C แล้วให้คัดลอกไฟล์ระบบลงไปในไดรว์ด้วย C:>FORMAT A: /Q ฟอร์แมตไดรว์ A แบบ Quick Format MD คำสั่งสร้างไดเร็คทอรี MD (Make Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างไดเร็คทอรี คำสั่งนี้จะช่วยให้สามารถสร้างไดเร็คทอรีชื่ออะไรก็ได้ที่เราต้องการ แต่ต้องมีการตั้งชื่อที่อยู่ในกฎเกณฑ์ของ Dos รูปแบบคำสั่ง MD [drive:] path ตัวอย่างการใช้คำสั่ง D:> MD TEST สร้างไดเร็คทอรี TEST ขึ้นมาในไดรว์ D D:>DOCMD TEST สร้างไดเร็คทอรีที่ชื่อ TEST ขึ้นมาภายในไดเร็คทอรี DOC REN (RENAME) คำสั่งเปลี่ยนชื่อไฟล์ เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนชื่อไฟล์ และส่วนขยาย โดยคำสั่ง REN นี้ไม่สามารถใช้เปลี่ยนชื่อไดเร็คทอรีได้ รูปแบบคำสั่ง REN [ชื่อไฟล์เดิมล [ชื่อไฟล์ใหม่] ตัวอย่างการใช้คำสั่ง C:REN BOS.DOC ANN.DOC เปลี่ยนชื่อไฟล์ BOS.DOC ในไดรว์ C เป็น ANN.DOC C:REN C:MAYABOS.DOC PEE.DOC เปลี่ยนชื่อไฟล์ BOS.DOC ในไดเร็คทอรี MAYA ให้เป็น PEE.DOC C:REN A:*.*TEX *.OLD เปลี่ยนส่วนขยายของไฟล์ชนิด TXT ทุกไฟล์ในไดรว์ A ให้เป็น OLD SCANDISK คำสั่ง SCANDISK เป็นคำสั่งตรวจสอบพื่นที่ฮาร์ดดิสก์ สามารถใช้ในการตรวบสอบปัญหาต่าง ๆ ได้ และเมื่อ SCANDISK ตรวจพบปํญหา จะมีทางเลือกให้ 3 ทางคือ FIX IT , Don't Fix IT และ More Info ถ้าไม่เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นให้เลือก More Info เพื่อขอข้อมูลเพิ่มก่อนตัดสินใจต่อไป ถ้าเลือก FIX IT จะเป็นการสั่งให้ Scandisk ทำการแก้ไขปัญหาที่พบ ถ้าการซ่อมแซมสำเร็จโปรแกรมจะมีรายงานที่จอภาพให้ทราบ ส่วน Don't Fix IT คือให้ข้ามปัญหาที่พบไปโดยไม่ต้องทำ การแก้ไข รูปแบบคำสั่ง SCANDISK [Drive:]/AUTOFIX /AUTOFIX ให้แก้ไขปัญหาโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างการใช้คำสั่ง A:>SCANDISK C: ทำการตรวจสอบปัญหาในไดรว์ C A:>SCANDISK D:/AUTOFIX ทำการตรวจสอบปัญหาในไดรว์ D และแก้ไขอัตโนมัติ Type คำสั่งดูข้อมูลในไฟล์ Type เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงเนื้อหาภายในไฟล์บนจอภาพ คำสั่งนี้จะใช้ได้กับไฟล์แบบ Text ส่วนไฟล์โปรแกรมต่าง ๆ จะไม่สามารถอ่านได้ รูปแบบคำสั่ง TYPE [ชื่อไฟล์ที่ต้องการอ่าน] ตัวอย่างการใช้คำสั่ง C:>Type AUTOEXEC.BAT แสดงเนื้อหาภายในไฟล์ AUTOEXEC.BAT C:>NORTONTYPE README.TXT แสดงเนื้อหาภายในไฟล์ README.TXT ในไดเร็คทอรี NORTON XCOPY คำสั่งคัดลอกทั้งไดเร็คทอรีและทั้งหมดในไดเร็คทอรี XCOPY เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ได้เหมือนคำสั่ง COPY แต่ทำงานได้เร็วกว่า และสามารถคัดลอก ได้ทั้งไดเร็คทอรีและไดเร็คทอรีย่อย รูปแบบคำสั่ง XCOPY [ต้นทาง] [ปลายทาง] /S /E /E ให้คัดลอกไดเร็คทอรีย่อยทั้งหมดรวมถึงไดเร็คทอรีย่อยที่ว่างเปล่าด้วย /S ให้คัดลอกไดเร็คทอรีย่อยที่ไม่ว่างเปล่าทั้งหมด ตัวอย่างการใช้คำสั่ง C:>XCOPY BACKUP F: /S /E คัดลอกทุกไฟล์และทุกไดเร็คทอรีย่อย BACKUP ไปไว้ในไดรว์ F C:>PRINCE>XCOPY *.VSD A: คัดลอกทุกไฟล์ที่มีนามสกุล VSD ในไดเร็คทอรี PRINCE ไปที่ไดรว์ A
posted by papada @ 11:46   0 comments
วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

posted by papada @ 12:23   0 comments
คำสั่ง dxdiag ( ขั้นตอนการทำ )

posted by papada @ 12:22   0 comments
คำสั่ง dxdiag
1. ให้เลือก คำสั่ง RUN ดังรูปที่ 1 เมื่อทำการคลิกแล้วจะได้ตามรูปที่ 2 ให้พิมพ์คำสั่ง dxdiag ลงไปในช่วง Open แล้วเลือก OK จะได้ตามรูปที่ 3


2. ให้ดูในรูปที่ 3 ในหน้า System และในหัวข้อ System Model จากตัวอย่างรุ่น Main Board คือ P25G
posted by papada @ 12:20   0 comments
คำสั่ง dxdiag
รวมคำสั่ง RUN ที่จำเป็นต้องใช้
รวมคำสั่ง RUN ที่จำเป็นต้องใช้
คำสั่ง RUN มีประโยชน์ในการเรียกใช้โปรแกรมย่อยๆ หรือเปิดหน้าต่าง ของวินโดวส์เข้ามาทำงานบางท่านอาจจะสงสัยว่า ในเมื่อ มันสามารถเรียกใช้งานโปรแกรมย่อยๆ ต่างๆ นี้ได้อยู่แล้วเราจะใช้ คำสั่ง Run ไปทำไมจะ ว่าให้ง่ายก็คือ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ในการเรียกใช้ เพราะว่า บางโปรแกรมเราต้องคลิกเข้าไปหลายส่วน ทำให้เสีย เวลา แต่ในบางกรณี การเข้าโดยใช้เมาส์คลิกตามปกติก็จะเร็วกว่าวันนี้จะมาเสนอคำสั่ง ที่ใช้การ Run เรียกเข้ามา เพื่ออำนวยความสะดวกในการ ทำงานมากขึ้น ครับ
ก่อนอื่น วิธีการเีรียกคำสั่ง RUN ก็ไม่ยากอะไรเลย เพียงคลิกที่ start >runจากนั้น เราก็จะพิมพ์คำสั่ง และกด Enter เข้าไปใช้งานได้ทันที
ตัวอย่าง เช่น เราต้องการจะตรวจสอบสเป็คเครื่อง แบบคร่าวๆ ( แต่ละเอียดกว่าการดู Properties ที่ My Computer )เราก็สามารถใช้คำสั่ง dxdiag เพื่อตรวจสอบได้
คำสั่งที่สำคัญ ได้แก่
คำสั่ง dxdiag คำสั่งนี้ จะเป็นการเรียก Direct X และตรวจสอบสเป็คเครื่อง สามารถดูรายละเอียดพื้นฐานได้เช่น CPU RAM VGA SOUND
คำสั่ง devmgmt.msc ใช้ในการเรียกหน้าต่าง Device Manager ขึ้นมา
คำสั่ง wuaucpl.cpl เปิดหน้าต่าง Auto Update
คำสั่ง appwiz.cpl เข้าโปรแกรม Add/Remove Program
คำสั่ง clipbrd เรียกดู คลิปบอร์ด
คำสั่ง diskmgmt.msc เรียกโปรแกรม Disk Management ใช้จัดการดิสก์ เช่น ฟอร์แมตเปลี่ยนตัวอักษรประจำไดร์วต่างๆ
คำสั่ง compmgmt.msc เรียกดู Computer Management
คำสั่ง calc เรียกเครื่องคิดเลข
คำสั่ง eventvwr.msc เรียกดูประวัติเหตุการณ์ใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์
คำสั่ง gpedit.msc จัดการเกี่ยวกับ Group Policy ( ใช้ใน Win XP Home ไม่ได้นะ )
คำสั่ง ncpa.cpl เปิดหน้าต่าง Network Connection
ส่วนคำสั่งต่อไปนี้ เรามักจะใช้กันบ่อยมาก ในกรณีที่ติดไวรัส บางครั้งถึงแม้ว่าเราจะกำจัดไวรัสไปแล้วแต่อาการต่างๆ ยังคงอยู่
คำ สั่ง msconfig เป็นคำสั่งเรียกโปรแกรมเพื่อกำหนดค่าต่างๆ ของ Windows ส่วนใหญ่ไวรัสมักจะแอบไปใส่ค่าให้ เรียกตัวเองขึ้นมาตั้งแต่เริ่มเข้าใช้งาน
คำสั่ง regedit เรียกโปรแกรม Registry Editor อยากจะแก้ไขอะไรต้องระวังหน่อยนะครับแต่ถ้าทำตามคู่มือกำจัดไวรัสก็ไม่เป็นไรหรอก
posted by papada @ 11:40   0 comments
การตรวจสอบสเปคเครื่อง

posted by papada @ 10:43   0 comments
วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552
เพื่อนๆๆๆๆ
ชิชาณัณ แซ่ตั้ง , kpoona@hotmail.com ,kpoona.blogspot.comจิรายุ จันทร์ดา ,kjanda1880@gmail.com,jirayu10.blogspot.comศุภสิทธิ์ ชินวงศ์, pigolo.aof@gmail.com, aofza.blogspot.comชาคริต พรมศรี, bobob01@hotmail.com , bob-boy.blogspot.comประพันธ์ สุระโยธิน , surayotin@gmail.com , surayotin.blogspot.comธีระยุทธ์ มณีอำพันธ์ , teerayootmaneeumput@sanook.com ,teerayoot.blogspot.comโกวิท เขียวพันธ์ , kokowito@gmail.com, bokydot.blogspot.comสมัชญา โพธิ์คำ , sumaschaya@gmail.com , samaschaya.blogspot.comขวัญสุดา พงษ์ธนู, khwansuda044@gmail.com, sudazaza.blogspot.comธิรังกูร บัวหุ่ง , thirangkun@thaimail.com , thirangkun2008.blogspot.comทรงพล ธรรมวัตร , songphon@gmail.com, army25.blogspot.comอภิรักษ์ บุตรวงศ์ , golfssk@hotmail.com, apilukssk.blogspot.comนพกานต์ โวหาร , nppknwhnr.87@gmail.com, noppakan32.blogspot.comเมธิดา เหมือนมาตย์, mathida25@gmail.com, mathida25.blogspot.com
posted by papada @ 10:57   0 comments
About Me

Name: papada
Home:
About Me: คนเดือนกรกฎาคม นับได้ว่าเป็นคนอ่อนไหวไวต่อความรู้สึก ระมัดระวังตัวหวาดระแวงตกใจง่ายไม่ค่อยไว้ใจใครง่าย ๆ รู้รักษาผลประโยชน์รู้จักเก็บออมเงินเก่ง (ปูมักจะลากทุกอย่างเข้ารู) ถ้าเจอปัญหาเศร้าทุกข์อะไร จะขอหลบไปก่อน ไม่รับโทรศัพท์ ไม่รับแขก ไม่ยอมเจอใคร แต่พอตั้งสติได้จะค่อย ๆ กลับมาแก้ไขและกลับมาเป็นคนเดิมเอง เป็นคนรักบ้าน รักครอบครัวมาก ชอบอยู่กับบ้านและทำกิจกรรมที่บ้านมากกว่าให้ออกนอกบ้าน เพราะมันเป็นสิ่งที่ทำให้ชาวกรกฎรู้สึกปลอดภัยและอบอุ่น มีความสุขที่สุด ดูจากภายนอกออกจะแข็งกร้าว ปากแข็งแต่จริง ๆ ภายในอ่อนปวกเปียกมาก ลองดูจากสัญลักษณ์ที่คนโบราณเปรียบเทียบไว้เป็นปูไง มีกระดอง แต่ข้างในนิ่มเชียว มีความอดทนต่อความยากลำบาก ชอบใส่ใจความรู้สึกคนอื่น ไม่ว่าเป็นหญิงหรือชายมักมีความเป็นแม่อยู่ในตัว มีสัญชาตญาณในการให้ ห่วงใยเอื้ออาทร ชอบช่วยเหลือชาวบ้าน เอาอกเอาใจ (เฉพาะ) คนที่ตัวรัก เก็บรายละเอียดได้ดีไม่ว่าจะเรื่องอะไร โดยเฉพาะเรื่องเก่า ๆ หรือพวกรักฝังใจ ไม่ยอมลืม แต่เจ้าอารมณ์ชะมัดเลยล่ะ จู้จี้จขี้บ่น เจ้าระเบียบ ต้องปล่อยให้บ่นไป เดี๋ยวเหนื่อยก็หยุดไปเองแหละ ต้องระวังเรื่องเครียด เพราะเป็นคนวิตกจริตคิดมาก รักใครแล้วไม่ค่อยปล่อยง่าย ๆ แถมขี้หึงถึงตายเลยล่ะ (ปูหนีบ)
See my complete profile
Previous Post
Archives
Links
Template by

Free Blogger Templates

BLOGGER